IT 35 หลักสูตร การจัดทำ KPIs ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในงาน (Key Performance Indicators)
หลักสูตร
การจัดทำ KPIs ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในงาน (Key Performance Indicators)

หลักการและเหตุผล
KPIs เป็นดัชนีชี้วัดความสําเร็จขององค์กรว่าทําได้ตามเป้าหมายหรือไม่ มีความสําคัญอย่างมากในการนําไปพัฒนาทางด้านการผลิตและการจัดการด้านต่างๆในองค์กร ในทุกๆ บริษัทต่างมีการทําดัชนีเพื่อชี้วัดสิ่งที่ได้กระทํา ซึ่งนั่นก็คือพื้นฐานหลักของ KPIs นั่นเอง โดย KPIs เป็นตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ของบริษัทว่าสําเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ ในความเป็นจริงแล้วการจัดทําระบบต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ความยากอยู่ที่การที่จะนําเอาระบบไปประยุกต์ใช้กับแต่ละองค์กรมากกว่า เพราะแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะของธุรกิจ สภาพแวดล้อม ลักษณะงาน และวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้น จุดสําคัญที่จะทําให้ระบบประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวจึงไม่ได้อยู่ที่การว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาหรือการมีเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้มากกว่ากัน
ปัญหาอุปสรรคที่สําคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการนําเอาระบบ KPIs คือ
- จํานวนตัวชี้วัดมากเกินไป บางองค์กรมีตัวชี้วัดหลายร้อยตัว แต่ละตําแหน่งมีตัวชี้วัดหลายสิบตัว
- ไม่แน่ใจว่าตัวชี้วัดตัวใดสําคัญกว่าตัวอื่นๆ
- แต่ละหน่วยงานไม่ยอมรับตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงานอื่น
- ไม่ทราบว่าตัวชี้วัดแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายองค์กรและตัวชี้วัดผลงานตัวอื่นอย่างไร
- แต่ละหน่วยงานกําหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของตัวชี้วัดได้อย่างอิสระ ดังนั้น KPIs ที่กําหนดขึ้นของตําแหน่งงานจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเป้าหมายขององค์การและ หน่วยงาน ซึ่ง KPIs ที่ดีจะต้องเป็นตัวเลข วัดประเมินได้ เป้าหมายที่กําหนดไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจการกําหนดดัชนีวัดผลงานหลักของหน่วยงานที่มีมูลค่าเพิ่มในการส่งเสริมต่อเป้าหมายและความสําเร็จขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจหลักการสามารถกําหนด KSA (Key Success Areas) และ KPIs (Key Success Indicators) ภายใต้กรอบ 4 มุมมองในระบบ Balanced Scorecard ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถกําหนดมาตรฐานผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีมูลค่าเพิ่มที่ส่งเสริม ความสําเร็จของหน่วยงานและทีมงานที่เกี่ยวข้อง (Cross functional Team)
- เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถกําหนด KPI จากงานที่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมและยุติธรรมสําหรับทุก ฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาหลักสูตร
1. ภาพรวมของการวางแผน (Corporate Planning)
2. การกําหนด KPI ที่มี Value added คืออะไร
3. ทบทวนเป้าหมายขององค์กร
4. แนวคิดของระบบบริหารงานตามเป้าหมาย
5. PI กับ KPI มีความสอดคล้องกันอย่างไร
6. การสร้างKPI ที่สะท้อนความสําเร็จสูงสูดขององค์กร
7. การสร้างKPI ที่สนับสนุนหน่วยงานอื่น ๆ
8. การสร้างKPI ที่ส่งเสริมกระบวนการทํางานที่สําคัญ
9. Workshop1 การหาตัวชี้วัด PI เพื่อกําหนดเป็น KPI ที่สําคัญ
10. Workshop2 การกําหนด KPIs ระดับบุคคลเพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย
11. Workshop3 การกําหนด KPIs ระดับหน่วยงานและองค์กร ให้สอดคล้องกัน
12. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถามตอบ
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ หัวหน้างาน และผู้บริหารระดับต้น
ระยะเวลาการอบรม 1 วัน (09.00 -16.00 น.)
รูปแบบการฝึกอบรบ
¤ การบรรยาย |
40 % |
¤ เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนําเสนอผลงาน |
50 % |
¤ กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ |
10 % |
***ค่าอบรมสัมมนาสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีตอนสิ้นปีได้ 200% ตามประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 437 ***