IT 71 หลักสูตร การลดต้นทุนด้านการจัดซื้อและจัดหา แบบ Lean (Lean Purchasing & Procurement)

หลักสูตร

การลดต้นทุนด้านการจัดซื้อและจัดหา แบบ Lean

(Lean Purchasing & Procurement)

หลักการและเหตุผล

       การจัดซื้อแบบลีน (Lean Purchasing) คืออะไร แล้วทำไมถึงต้องเป็นลีน (Lean) หน่วยงานจัดซื้อมีความสำคัญแค่ไหนในองค์การ และการลดต้นทุนการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องอะไรกับการจัดซื้อ ผู้ที่ทำงานด้านจัดซื้อต้องมีความรู้อะไรบ้าง แล้วเมื่อไรจึงควรทำการจัดซื้อ และจะจัดซื้อในปริมาณที่เท่าไรจึงจะเหมาะสมและประหยัดที่สุด จะจัดซื้อกับใคร กับ Supplier เจ้าไหนดี รวมถึงฝ่ายจัดซื้อต้องมีความสัมพันธ์กับฝ่ายอื่น ๆในองค์กรอย่างไรบ้าง คำถามเหล่านี้ผู้ที่ทำงานด้านการจัดซื้อตอบได้หรือไม่

     การจัดซื้อและจัดหาแบบลีน คือการนำเอากลยุทธ์ต่าง ๆ มาประยุกต์กับงานด้านการจัดซื้อและจัดหา (Purchasing and Procurement) นั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อ รวมถึงเพิ่มคุณค่าให้กับงานดังกล่าวได้เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมด้านการจัดซื้อและจัดหานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการผลิตและงานคลังสินค้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดเวลาการผลิต ลดของเสีย ลดเวลา downtime ของเครื่องจักร สามารถเพิ่มค่า %OEE และลด Loss time ได้เป็นอย่างมาก      ด้วยการจัดซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพและจัดส่งได้ทันเวลาตามแผนการผลิตที่ได้วางไว้อย่างสม่ำเสมอ และยังสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภท Dead Stock ได้อย่างได้ผล อีกทั้งยังทำให้กิจกรรมด้านคลังสินค้ามีความคล่องตัวหรือช่วยให้เกิดการไหลของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปได้รวดเร็วขึ้นด้วยการสั่งซื้อสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสม

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ลดต้นทุนการจัดซื้อ จัดหาพัสดุ

2. เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็วในกระบวนการจัดซื้อ จัดหา

3. ลดระดับปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ลดระยะเวลาการทำงานจัดซื้อ และการจัดการคลังสินค้า

 

เนื้อหาหลักสูตร   

1. กลยุทธ์การจัดซื้อจัดหาแบบต่าง ๆ

2. กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดซื้อจัดหา

3. ความแตกต่างระหว่างการจัดซื้อและการจัดหา หลักการและประสิทธิภาพของทั้ง 2 แบบ

4. การจัดซื้อแบบ Just In Time และ Just in Case และ Just in Sequence in Production and Services

5. การเลือกใช้การจัดซื้อวิธีต่าง ๆ ให้เหมาะสม

6. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels

7. การบริหารสินค้าคงคลัง แบบ ABC (ABC Analysis)

8. ต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Costs of inventory)

9. การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity) หรือ EOQ

10. การกำหนดปริมาณ Safety Stock หรือปริมาณสินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย

11. การกำหนดจุด Re-Order Point จุดสั่งซื้อซ้ำ

12. ตารางและแผนการผลิตหลัก (Master Planning Schedule: MPS)

13. แผนความต้องการวัสดุ (Material Resource Planning: MRP)

14. การจัดทำ Supplier List และ Approved Vendor List (AVL)

15. วิธีการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังให้ลดลงอย่างเหมาะสม

16. Lean Inventory Solution (ระบบการจัดการสินค้าคงคลังแบบลีน)

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ  ผู้จัดการโรงงาน/ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร  ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกร

ระยะเวลาการอบรม  1  วัน  (09.00 -16.00 น.)

รูปแบบการฝึกอบรบ

  • การบรรยาย (Lecture) 
  • การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย 
  • การตอบข้อซักถาม 

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

คำอธิบายแบบฟอร์ม